โครงการวิจัยการศึกษาเปรียบเทียบโลจิสติกส์สินค้าเกษตร จากการก่อสร้างทางด่วนช่วง (ห้วยทราย-บ่อเต็น) สปป.ลาว
ยุทธศาสต์การขนส่งที่สำคัญระหว่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโลจิสติกส์สินค้าระหว่างไทย- สปป.ลาว-จีน ในส่วนของเส้นทางการค้าข้ามแดนที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างทางรถไฟลาว – จีน เริ่มการก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการเสร็จสิ้นและมีการดำเนินการขนส่งและบริการตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2564 ในขณะที่มีการก่อสร้างทางด่วนบ่อเต็น–ห้วยทราย ซึ่งเป็นการขนส่งทางถนนโดยได้รับการพิจารณาและอนุมัติ โดยกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ซึ่งโครงการทางด่วนช่วงห้วยทราย – บ่อเต็น หากโครงการนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นจะสามารถช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางขนส่งระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก จากความแตกต่างทั้งในรูปแบบการขนส่งทั้งทางรางในเส้นทางของรถไฟลาว – จีนและอีกเส้นทางหนึ่งเส้นทางด่วนห้วยทราย – บ่อเต็น คณะนักวิจัยจึงได้ทำการสำรวจพื้นที่และลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์เพื่อศึกษาถึงข้อได้เปรียบของเส้นทางที่มีส่วนในการเพิ่มประสิทธิและยกระดับขีดความสามารถของระบบโลจิสติกส์ เศรษฐกิจการค้าการลงทุน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการและภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้สามารถใช้ประโยชน์และเป็นที่อ้างอิงจากข้อมูลเชิงลึกในการเลือกใช้เส้นทางในการขนส่งสินค้าได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อศึกษาเส้นทางการขนส่งสินค้าเกษตร โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของประเทศไทย ผ่านจุดผ่านแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย และจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 จังหวัดหนองคายไปยัง สปป.ลาว และประเทศจีนตอนใต้ ในรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน (General Container) และแบบควบคุมอุณหภูมิ (Reefer Container)
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุน ระยะเวลาการขนส่งสิ่งอำนวยความสะดวก กฎระเบียบ และความต้องการของผู้ส่งออก และนำเข้าสินค้าเกษตรบนเส้นทาง ณ จุดผ่านแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย และจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 จังหวัดหนองคาย ไปยัง สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์เชื่อมโยง ไทย-สปป.ลาว-จีน ณ จัดผ่านแดนถาวรเชียงของ จังหวัดเชียงราย และจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1
ข้อมูลการศึกษา
- เส้นทางการขนส่ง
- เส้นทางการขนส่ง
- โครงสร้างพื้นฐาน
- กิจกรรมด้านโลจิสติกส์
- สิ่งอำนวยความสะดวก
ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ
Research-02
นักวิจัย
ดร.พรนภา มูสิกพันธุ์
Research-02
นักวิจัย