"โครงการการส่งเสริมและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวตะเข็บชายแดนและระเบียงเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ" (พื้นที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก)
โครงการนี้อยู่ภายใต้แผนงานโครงการ “การส่งเสริมและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวตะเข็บชายแดนและระเบียงเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” โดยพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนและระเบียงเศรษฐกิจที่ได้ความสนใจในการนำมาศึกษา และจัดทำรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีทั้งหมดจำนวน 10 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่บ้านกลองคี อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก 2) พื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 3) พื้นที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 4) พื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 5) พื้นที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 6) พื้นที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7) พื้นที่อำเภอบ้านโคก (ภูดู่) จังหวัดอุตรดิตร์ 8) พื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และมีการเพิ่มเติมพื้นที่ใหม่ จำนวน 2 พื้นที่ ประกอบด้วย 9) พื้นที่อำเภอชาติตระการ (ร่มเกล้าและสงบสุข) จังหวัดพิษณุโลก และ 10) พื้นที่อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
โครงการนี้ได้ศึกษาพื้นที่หมู่บ้านร่มเกล้าและสงบสุข อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ทั้งสองหมู่บ้านนั้นอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จึงมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ใกล้เคียงกัน มีความเป็นอยู่ ภาษา ศิลปะพื้นบ้าน และอาหารพื้นบ้านที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อพัฒนารูปแบบหลักสูตร (Course) ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่เป้าหมายจำนวน 1 พื้นที่
เพื่อพัฒนาระบบต้นแบบของการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน (Sustainable Self-Reliance Prototype) ของชุมชนเป้าหมาย โดยการดำเนินกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม
เพื่อพัฒนาและร่างตัวแบบของการประกอบอาชีพในรูปของวิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise Model) ที่เกิดจากความร่วมมือและสนับสนุนในรูปของ 5P (Public-Private-People-Partnership-Profit) 4) เพื่อพัฒนาและร่างตัวแบบของการสร้างชุมชนอัจฉริยะ (Smart Community Model) ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา คณะนักวิจัยได้เข้าสัมภาษณ์เชิงลึกและสำรวจความต้องการในการพัฒนาพื้นที่ซึ่งได้ข้อสรุปในการพัฒนา คือ ด้านการท่องเที่ยว และด้านเศรษฐกิจ จากนั้นคณะนักวิจัยได้ทำการออกแบบหลักสูตรร่วมกับชุมชน โดยได้หลักสูตรทั้งหมด 5 หลักสูตร ได้แก่ (1) การประชาสัมพันธ์ (2) โลจิสติกส์การท่องเที่ยว (3) การพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว (4) การตลาดออนไลน์ (5) ความรู้เรื่องการตัดผ้าและปักผ้า ซึ่งทางคณะนักวิจัยได้ทำการอบรมหลักสูตรดังกล่าวเบื้องต้นแก่ชุมชน ซึ่งในระหว่างนี้อยู่ในช่วงการติดตามผลหลังการอบรมหลักสูตรต่อไป
โครงการได้ดำเนินการแผนการจัดการการบริหารเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งในการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนนั้นโครงการที่อบรมได้ตอบสนองการพัฒนาตนเองทั้งในด้านการพัฒนาทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เป็นการพัฒนาแบบเป็นรูปธรรมนั้นได้ใช้ โครงการอบรมหลักสูตรการวิเคราะห์ศักยภาพและการพัฒนาสิ่งดึงดูดด้านการท่องเที่ยว และโลจิสติกส์การท่องเที่ยวบ้านร่มเกล้า-สงบสุขและโครงการอบรมหลักสูตรการวิเคราะห์ศักยภาพและการพัฒนาพื้นที่ของโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมโลจิสติกส์การท่องเที่ยวบ้านร่มเกล้า-สงบสุข ส่วนในด้านการพัฒนาทางด้านนามธรรมนั้นได้ใช้โครงการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทผ้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชนบ้านร่มเกล้า-สงบสุข เพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โครงการอบรมหลักสูตร “กลยุทธ์และเทคโนโลยีการขายสินค้าชุมชนออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” และโครงการประชาสัมพันธ์หมู่บ้านร่มเกล้าและหมู่บ้านสงบสุข โดยในการดำเนินกิจกรรมได้ใช้วิธีการพูดคุย วิเคราะห์ความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนซึ่งเป็นกิจกรรมแบบส่วนร่วมเป็นหลัก โดยอาศัยความร่วมมือและความสามัคคีของชุมชนเป็นหลัก ซึ่งในด้านการตอบวัตถุประสงค์ของ 5 P หรือ 5 มิติ นั้นประกอบด้วยPeople (มิติด้านสังคม): Prosperity (มิติด้านเศรษฐกิจ): Planet (มิติด้านสิ่งแวดล้อม): Peace (มิติด้านสันติภาพและสถาบัน): Partnership (มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา): ชุมชนมีการให้ความร่วมมือกันในชุมชนในการช่วยเหลือและร่วมกันพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งมากขึ้น
ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ
Research-02
นักวิจัย
ดร.สุภาวณีย์ ทิมทอง
นักวิจัย
ดร.พรนภา มูสิกพันธุ์
Research-02
นักวิจัย